การเชื่อมต่อ ISP

ISP



ISP คืออะไร ทำหน้าที่อะไร
จากที่ได้เกริ่นมาแล้วเบื้องต้นถึงหน้าที่บ้างส่วนของ ISP แล้ว หลายคนคงอยากรู้ว่า ISP คืออะไร ISP ย่อมาจากคำว่าInternet Service Provider ซึ่งเป็นหน่วยงานและองค์กรที่ให้บริการการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อาทิเช่น เมื่อเราเรียกเปิดใช้งานเว็บไซต์หนึ่งเว็บไซต์ คำสั่งที่เราร้องขอจะผ่านเข้าไปยัง ISP เพื่อให้ ISP ช่วยเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ที่เราต้องการ ข้อดีของการมีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตหลาย ๆค่ายนั้นก็คือ จะสามารถทำให้ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศนั้นสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้เร็วขึ้น เพราะมีการแข่งขันด้านความเร็วนอกจากนั้นผู้ใช้งานยังสามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่ถูกลงด้วยเนื่องจากมีการแข่งขันด้านราคาและเทคโนโลยีอยู่เสมอ
ในประเทศไทยเราจะแบ่งผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ
    1. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ ( Commercial ISP)
    2. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ (non-commercial ISP )
ประเภทการให้บริการของ ISP มีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ
1. Narrow band เป็นการเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์ซึ่งจะมีความเร็วประมาณ 56 Kbps การเชื่อมต่อกับ ISP ประเภทนี้จะต้องดูว่า โมเด็มที่ใช้งานสามารถเชื่อมต่อหรือเป็นประเภทเดียวกับ ISP ด้วยหรือไม่เพราะ ISP แต่ละรายการจะมีหมายเลขโทรศัพท์หลายหมายเลขด้วยกัน ซึ่งแต่ละหมายเลขจะใช้สำหรับโมเด็มที่มีความเร็วและมาตรฐานที่แตกต่างกัน
2. Broadband ซึ่งเป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในปัจจุบันซึ่งการเชื่อมต่อกับ ISP จะเป็นการเชื่อมต่อโดยตรง ทำให้มีความเร็วในการใช้งานที่สูงขึ้น โดยผู้ให้บริการได้กำหนดมาตรฐานความเร็วในการใช้งานไว้ที่ ความเร็ว 500Kbps ไปจนถึง 2.5 Mbps ซึ่งโมเด็มที่ใช้จะเป็น ADSL MODEM ซึ่งโมเด็มประเภทนี้สามารถทำความเร็วในการส่งข้อมูลสูงถึง 6 Mbps และดาว์โหลดจะมีความเร็วในการดาว์โหลดที่สูงกว่า 6 Mbps
การเชื่อมต่อกับ ISP มีอยู่ด้วยกันหลายแบบคือ
1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในยุคแรก ซึ่งจะเชื่อมต่อผ่านสายโทนศัพท์ ระหว่างการเชื่อมต่อจะได้ยินเสียงสัญญาณในการต่อทุกครั้ง โดยการใช้งานการเชื่อมต่อแบบนี้จะไม่ค่อยมีความเสถียร และมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 56 kbps
2. การเชื่อมต่อแบบ ISDN (Internet Services Digital Network) เป็นการเชื่อมต่อที่ดีกว่าแบบ Dial Up แต่ก็ยังเป็นการเชื่อมต่อด้วยสายโทรศัพท์อยู่ แต่ความเร็วในการใช้งานจะมากกว่าพร้อมกันนั้นยังสามารถจะคุยโทรศัพท์ระหว่างการใช้งานอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย
3. การเชื่อมต่อแบบ DSL (Digital Subscriber Line) เป็นการเชื่อมต่อที่เรียกได้ว่ามีความเร็วสูงกว่าการเชื่อมต่อ Dial Up และ ISDN มาก แต่ความเร็วที่ได้มาจะไม่แน่นอนซึ่งเป็นข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบนี้
4. การเชื่อมต่อแบบ Cable TV เป็นการเชื่อมต่อที่ผ่านสายเคเบิลทีวีด้วยการส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตและสัญญาณภาพและเสียงมาพร้อมกัน การใช้งานอินเตอร์เน็ตจะสามารถใช้พร้อมกับการดูเคเบิลทีวีได้เลยแต่ข้อเสียก็คือถ้ามีผู้ใช้งานในเวลาเดียวกันมาก ๆอาจจะทำให้ความเร็วในการใช้อินเตอร์เน็ตต่ำลงไปด้วย
5. การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) การเชื่อมต่อแบบนี้จะไม่นิยมใช้งานกันเพราะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากและความเร็วในการใช้งานก็ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วยเช่นกัน

 ระบบเครือข่าย VDSL  
   VDSL เป็นระบบเครือข่ายที่พัฒนาและออกแบบมาให้เหมาะสมกับการใช้งานในอาคารเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพของการถ่ายโอนข้อมูลระดับสูง
โดยการส่งผ่านข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ทั้งในส่วนของสัญญาณเสียง (Voice) และสัญญาณข้อมูล (Data) โดยที่ VDSL ไม่ได้ทำงานโดยขึ้นกับข้อจำกัดของสายโทรศัพท์ จึงทำให้มีอัตราการถ่ายโอนข้อมูลทั้งในส่วนของ Upstream และ Downstream สูงสุดถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที และมีระยะการใช้งานสายสัญญาณได้สูงสุดที่ 400 เมตร  ในขณะที่ระบบเครือข่ายแบบ ADSL ให้อัตราการถ่ายโอนข้อมูลทั้งในแบบ Upstream และ Downstream สูงสุดเพียงแค่ 24 เมกะบิตต่อวินาที และ 1 เมกะบิตต่อวินาที เท่านั้น จากรูปภาพที่แสดงด้านบนจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าระบบเครือข่ายแบบ VDSL มีคุณสมบัติการทำงานทั้งในส่วนของอัตราการถ่ายโอนข้อมูลและระยะการใช้งานของสายสัญญาณที่เหนือกว่าระบบเครือข่าย ADSL มาก 

ด้วยคุณสมบัติข้อดีของเทคโนโลยี VDSL (Very high bit rate Digital Subscriber Line) ที่เข้ากันได้กับสายโทรศัพท์พื้นฐานที่ใช้งานอยู่ตามบ้านทั่วไป จึงทำให้ทาง อัลไลด์ เทเลซิน (Allied Telesyn) ผู้นำทางด้านเน็ตเวิร์คและ IP Solution ได้ออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับใช้งานในลักษณะ Ethernet Over VDSL ขึ้น เพื่อนำไปใช้งานกับตึกสูง(MxU) ดังกล่าวนี้ ไม่ว่าจะเป็นตึกในลักษณะอาคารหรือสำนักงานให้เช่า (MTU หรือ Multi-Tenant Units) หรือใช้งานในอาคารแบบ MDU(Multi-Dwelling Units) อาทิเช่น คอนโด, หอพัก หรือโรงแรม เป็นต้น ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีอยู่ด้วยกัน 2 รุ่น คือ AT-MC601 และ AT-MC602 เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ผ่านทางพอร์ต Ethernet เข้ากับสายโทรศัพท์ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ระบบอินเตอร์เน็ตของคุณติดเทอร์โบความเร็วสูงขึ้นเป็น 10Mbps (Full Duplex / จากเดิมที่ Dial-Up Modem ทำได้อย่างเต็มที่ที่ 56Kbps เท่านั้น) และรองรับระยะทางได้ไกลถึง 1.2 กิโลเมตรเลยทีเดียว
นอกจากนี้แล้วมันยังสามารถทำ Traffic Shapping ทั้งการ Up-Stream และ Down-Stream แถมติดตั้งได้ง่ายเพียงอึดใจก็เสร็จพร้อมใช้งาน ส่วนท่านที่เป็นห่วงว่าจะมีผลกระทบกับระบบโทรศัพท์เดิมหรือไม่นั้น เราขอบอกว่า ท่านสามารถใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี Ethernet Over VDSL ได้ โดยที่ท่านยังสามารถใช้โทรศัพท์ของท่านได้เป็นปกติ

เครือข่าย ADSL

ADSL ย่อมาจาก Asymmetric Digital Subscriber Line คือเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง บนเครือข่ายสายทองแดง หรือคู่สายโทรศัพท์ ADSL เป็นเทคโนโลยีในตระกูล xDSL โดยมีลักษณะสำคัญคืออัตราการเร็วในการรับข้อมูล (Downstream) และอัตราการเร็วในการส่งข้อมูล(Upstream) ไม่เท่ากัน โดยมีอัตรารับข้อมูลสูงสุดที่ 8 Mbps. และอัตราการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 1Mbps โดยระดับความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูลจะขึ้นอยู่กับ ระยะทาง และคุณภาพของคู่สายนั้น ๆ 

เทคโนโลยี ADSL มีเทคนิคการเข้ารหัสสัญญาณ ซึ่งจะแบ่งย่านความที่บนคู่สายทองแดง ออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงความถี่โทรศัพท์ (POTS) ช่วงความถี่ของการส่งข้อมูล (Upstream) ช่วงความถี่ในการรับข้อมูล(Downstream) จึงทำให้สามารถส่งข้อมูล และใช้โทรศัพท์ได้ในเวลาเดียวกัน 

เทคโนโลยี ADSL พัฒนาให้ใช้ TCP/IP Protocol เป็นหลัก ซึ่งเป็น Protocol ที่ใช้บนเครือข่าย Internet และพัฒนาบนพื้นฐานของเทคโนโลยี ATM ทำให้ ADSL สามารถรองรับ Application ในด้าน Multimedia ได้เป็นอย่างดี
คำที่เกี่ยวข้องภาษาไทย :
บริการจดทะเบียน SSL,บริการจดโดเมนและ Colocation,
บริการที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต,บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต,
ระบบประชุมทางไกลผ่านเว็บ,ให้คำปรึกษาและวางระบบ CA
ระบบเครือข่าย VDSL คืออะไร ต่างจาก ADSL ตรงไหนบ้าง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การต่อสาย UTP CAT5

ระบบ MATV ,CABLE TV